โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 56 – ปรับปรุงนิสัยการกิน (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 21 กุมภาพันธ์ 2567
- Tweet
ในช่วง (Spectrum) ของความสมดุลของพลังงาน (Energy balance) สิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม (Opposite) กับการแปลงแคลอรี่ (Calorie) คือการบริโภค (Consumption) แคลอรี่ การที่เรากินอาหารย่อมชัดเจน (Obvious) ว่าเป็นสิ่งพื้นฐาน (Primal), ทำตามสัญชาตญาณ (Instinctual), และจำเป็นเพื่อให้ได้มา (Secure) ซึ่งสารอาหาร (Nutrient) และพลังงานเพื่อชีวิต
เผ่าพันธุ์ (Species) ทุกจำพวก ตั้งแต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal), พืช (Plant), แมลง (Insect), จนถึงสิ่งมีชีวิต (Organism) เซลล์เดียว (Single cell) ต้องการพลังงานและสารอาหารในรูปแบบ (Form) ใดรูปแบบหนึ่ง มนุษย์เรากินพืชและสัตว์ทุกชนิด (Omnivores) ในการสนองความต้องการของเรา
มีรายงานว่าเราได้บริโภคเผ่าพันธุ์ประมาณ 80,000 จำพวก ที่กินเป็นอาหารได้ (Edible) ตั้งแต่วันที่เราเป็นนายพราน (Hunter) และมีสมาชิกกลุ่มเหล่านี้ทำการสะสมรวมกัน (Gatherer) ดังนั้นเราอาจคิดว่า การทราบวิธีและว่าต้องรับประทานอะไรไม่ควรเป็นสิ่งยากนัก แต่ความจริงไม่ใช่เป็นเช่นนั้น
อาหารและโภชนาการได้กลายเป็นอ่างน้ำวน (Whirlpool) ของข้ออ้าง (Claim), วิจัย (Research), แนวโน้ม (Trend) ที่ได้รับความนิยม, การลงทุนขนานใหญ่, ธุรกิจขนาดยักษ์, และกฎระเบียบ (Regulation) ของรัฐ การผสมผสาน (Concoction) ของเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากมายในสิ่งที่เราวางบนจาน (Plate) อาหารของเรา
การมีสุขภาพทางด้าน (Aspect) อาหาร ได้เป็นด่านหน้า (Fore-front) ของการเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหาร (Dietary) มานานหลายปี อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่ถูกสุขภาพ (Eating healthy) นั้นสามารถเป็นวงจรที่น่าเวียนหัว (Dizzying cycle) จากความคิดที่เปลี่ยนไปได้
เราสามารถมองได้จากตัวอย่าง 2 ประการ กล่าวคือ อาหารที่นิยมตามสมัย (Fad) และ คำแนะนำจากหน่วยงานทางอาหาร (Official dietary recommendations) อาหารที่ได้รับความนิยมมาก รวมถึง Grapefruit (คล้ายส้มโอ แต่รสฝาด) และคุกกี้ (Cookie) ในคริสตทศวรรษ 1970s, อาหารเหลว (Liquid diet) ที่ในคริสตทศวรรษ 1980s, และอาหารไขมันต่ำ (Low-fat diet) ในคริสตทศวรรษ 1990s ก่อนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
นอกจากนี้ ยังมีอาหารลดพิษ (Detox diet) ในคริสตทศวรรษ 2000s, และการดื่มน้ำผลไม้ที่ไม่มีกลูเต็น (Gluten-free) [เมื่อไม่มิได้ขึ้นอยู่กับการไม่ยอมรับ (Intolerance) หรืออาการแพ้ (Allergy) กลูเต็นที่แท้จริง], และการอดอาหารระหว่างมื้อ (Intermittent fasting) ในคริสตทศวรรษ 2010s โดยที่ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่รายการที่ครบถ้วน (Exhaustive list) แล้ว
บล็อกนี้ มิได้ตั้งใจที่จะให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ (Science) ที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้ม (Trend), ความเสี่ยง (Risk), และคุณประโยชน์ (Benefit), หรือสนับสนุน (Endorse) อย่างเป็นทางการใดๆ ของประเภทอาหารเหล่านี้ หรือ จะสำรวจ (Explore) ว่าการลดน้ำหนัก (Weight loss) นั้นสามารถจรรโลงได้ (Sustainable) ในระยะยาวหรือไม่
แหล่งข้อมูล –